
ท่าน ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำกับดูแลสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาได้มอบนโยบายและเตรียมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 อย่างปลอดภัยกับผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศผ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ตามที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเพิ่ม จำนวน 6 แห่ง ทำให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำเร็จของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยที่ประจักษ์ชัดด้วยผลงานจากการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จากที่ได้รับหน้าที่รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำกับดูแลสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมีความรู้สึกยินดียิ่งที่จะได้ทำงานเพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยด้วยกัน โดยเฉพาะหลายท่านที่รู้จักได้ฝากให้ถอดบทเรียนความสำเร็จของการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับโรงเรียนอื่น ๆ ในการที่จะพัฒนาตามแนวทางของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยเฉพาะทักษะการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ที่จะนำบทเรียนความสำเร็จในเรื่องนี้ไปต่อยอดพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ ซึ่งกระบวนการจัดการศึกษาของโรงเรียนวิทยายาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยที่ผ่านมาคือกระบวนการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนที่สำคัญทั้ง ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อดึงสรรถนะของผู้เรียนออกมาเป็นต้นแบบที่สำคัญสำหรับโรงเรียนอื่น ๆ ของประเทศในการนำร่องและพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
จากการดำเนินการที่ผ่านมาทราบว่ากลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การเรียนรู้ของนักเรียนที่ไม่สะดุด Covid Cannot Stop Learning
สิ่งสำคัญในการเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 คือ มติทางสังคม และสุขภาพจิตของนักเรียนที่โรงเรียนต้องให้ความสำคัญและดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อที่เราจะสามารถเปิดการเรียนการสอนแบบ Onsite ให้มีความปลอดภัย โดยมีประเด็นที่อยากจะฝากกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในการดำเนินการดังนี้
1. เมื่อเด็กกลับเข้ามาในโรงเรียน โรงเรียนต้องจัดระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล วิเคราะห์ว่าเด็กแต่ละคนขาดอะไรในจขณะที่เรียน Online ที่บ้าน ต้องเติมอะไรเพื่อให้เขาสามารถปรับตัวเพื่อเข้าสู่สภาวะการเรียนแบบปกติ
2. สิ่งสำคัญ คือ มติทางสังคม การสื่อสารระหว่างบุคคล เพราะในช่วงขณะที่เรียน Online นักเรียนขาดการสื่อสาร ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อาจออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนได้พัฒนามติทางสังคมและการสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น
3. นักเรียนบางคนที่อาจเรียนแบบ On Demand ในช่วงที่ผ่านมา อาจขาดวิชาการในบางส่วน ทำอย่างไรที่โรงเรียนจะเติมสิ่งที่นักเรียนขาดหาย (Learning Loss) ให้เขาสามารถปรับตัวในการกลับมาเรียนรู้ได้อย่างสภาวะปกติได้ ซึ่งถ้าโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยสามารถทำเรื่องนี้ได้จะเป็นตัวอย่างที่สำคัญของโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป
4. การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันศึกษาและแผนเผชิญเหตุ ให้โรงเรียนมีแนวทางในการดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดตาม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และ 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษาและให้โรงเรียนจัดทำแผนเผชิญเหตุเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ให้รอบด้านโดยการประสานงานกับสถานพยาบาลในท้องถิ่นในการรับมือกับสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
5. สพฐ.จะดำเนินการในการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดสรรวัคซีนและชุดตรวจ ATK เพื่อให้ครอบคลุมถึงนักเรียน ครูและผู้บริหารให้มีความพร้อมก่อนการดำเนินการในการเปิดภาคเรียนแบบ Onsite ได้
รายงานโดย
ปรเมศวร์ ชรอยนุช
นักวิชาการศึกษา
สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
วันที่ 11 ตุลาคม 2564
#สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
#โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย